หน้าแรก » อบรมและทดสอบ » หลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงิน

หลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงิน

วัตถุประสงค์ / โครงสร้างหลักสูตร

ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้พิจารณากำหนดหลักสูตรการอบรมที่ปรึกษาทางการเงินขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ
เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงินและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างต่อ
เนื่อง และเพื่อสร้างมาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงินในตลาดทุนไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันประกอบกับเพื่อเป็นการสร้าง
โอกาสทางความรู้ในวงกว้างและเพิ่มอุปทานของจำนวนบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้แก่อุตสาหกรรมในระยะยาว โดยสามารถรองรับ
ปริมาณธุรกรรมในอนาคตได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าวยังช่วยป้องกันปัญหาการแย่งบุคลากรที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการ
เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยเปลี่ยนจาก
การให้ความเห็นชอบเป็นรายบริษัทเป็นการให้ความเห็นชอบเป็นรายบุคคล ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
ที่ปรึกษาทางการเงินและบุคคลภายนอกทั่วไปที่ให้ความสนใจ

หลักการ

1. ชมรมวาณิชธนกิจเป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินและกำหนดมาตรฐานการวัดผล เพื่อประเมินความรู้ของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ
ที่ปรึกษาทางการเงินในการผ่านหลักสูตรการอบรมดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรและการสอบซึ่ง
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน
2. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นรายบุคคล

วิธีการในการฝึกอบรม

1. การบรรยายความรู้พื้นฐานในชั้นเรียน โดยวิทยากรจะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้ทราบและเข้าใจถึงหลักการ กฎ ระเบียบ และความรู้พื้นฐาน
ในสาขาวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงการนำหลักการและ
ความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงในกรณีศึกษาต่าง ๆ (Case Studies) โดยจะมีการทดสอบเป็นรายบุคคลเพื่อวัด
ความรู้และความเข้าใจดังกล่าว
2. ระยะเวลาของการฝึกอบรมรวม 34.30 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตร

1.  จรรยาบรรณและความรู้ด้านต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน
      1.1 หน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และความเป็นอิสระของที่ปรึกษาทางการเงิน
      1.2 คุณสมบัติของที่ปรึกษาทางการเงิน
            1.2.1 จรรยาบรรณ
            1.2.2 ความรู้พื้นฐาน
      1.3 ภาพรวมของขั้นตอนการทำงานของที่ปรึกษาทางการเงิน
            1.3.1 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์
             – การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)
             – การออกและเสนอขายหลักทรัพย์กรณีเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (PP)
             – การออกและเสนอขายหลักทรัพย์กรณีเสนอขายต่อประชาชน (PO)
            1.3.2 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
            1.3.3 การเป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นรายย่อย
      1.4 การให้คำแนะนำในการกำกับและดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)
2.  แนวทางการทำ Due Diligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
3.  ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
      3.1 พื้นฐานในการจัดทำและส่วนประกอบของงบการเงิน
            3.1.1 งบดุล
            3.1.2 งบกำไรขาดทุน
            3.1.3 งบกระแสเงินสด
            3.1.4 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
            3.1.5 นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
      3.2 หลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อส่วนประกอบของงบการเงิน
            3.2.1 การด้อยค่าของสินทรัพย์
            3.2.2 การรายงานผลการดำเนินงาน
            3.2.3 งบการเงินรวม
            3.2.4 มาตรฐานการบัญชีสากลที่จะมีผลกระทบต่องบการเงิน
      3.3 หลักการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น
            3.3.1 รายการนอกงบดุล หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ภาระผูกพันต่าง ๆ
            3.3.2 รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
            3.3.3 การแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลของตราสารทางการเงิน
      3.4 การอ่านรายงานผู้สอบบัญชี
            3.4.1 กรณีเน้นเหตุการณ์
            3.4.2 กรณีมีเงื่อนไข ไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินผิด
4.  ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
      4.1 พ.ร.บ. มหาชน
            4.1.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ
            4.1.2 สิทธิของผู้ถือหุ้น
            4.1.3 การเพิ่มทุน / การลดทุน
            4.1.4 ข้อบังคับของบริษัท
      4.2 พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
            4.2.1 ความรับผิดในการเสนอขายหลักทรัพย์
            4.2.2 บทลงโทษการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์
5.  การออกและเสนอขายหลักทรัพย์
      5.1 หน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และความเป็นอิสระของที่ปรึกษาทางการเงิน
      5.2 พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
            5.2.1 หลักการ – คุ้มครองผู้ลงทุน
            5.2.2 กรอบในการกำกับดูแล
      5.3 หลักเกณฑ์และขั้นตอนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญ
      5.4 หลักเกณฑ์และขั้นตอนการออกและเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IFF) และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)
      5.5  เกณฑ์และขั้นตอนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์อื่น
            5.5.1 หุ้นกู้
            5.5.2 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้
            5.5.3 หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ
            5.5.4 ตั๋วเงิน
            5.5.5 การออกหลักทรัพย์เพื่อรองรับธุรกรรม Securitization
            5.5.6 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
            5.5.7 ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
            5.5.8 ออปชั่น (Option)
      5.6 หลักเกณฑ์และขั้นตอนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการและพนักงาน (ESOP)
            5.6.1 การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการ/พนักงาน ในประเทศไทยโดยบริษัทไทย
            5.6.2 การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการ/พนักงาน ในประเทศไทยโดยบริษัทต่างประเทศ
      5.7 ภาระหน้าที่หลังการเสนอขาย
            5.7.1 หุ้นสามัญ
            5.7.2 REIT                
            5.7.3 หลักทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่หุ้นสามัญ
            5.7.4 ESOP
      5.8 การขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
      5.9 แนวทางการพิจารณาระบบการกำกับดูแลที่ดี ระบบการตรวจสอบภายใน
      5.10 กรณีศึกษา และ Workshop
6.  การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
      6.1 บทบาทตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
      6.2 สิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนใน SET/mai
      6.3 ขั้นตอนการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียน
      6.4 หลักเกณฑ์ในการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET/mai
            6.4.1 หลักเกณฑ์เชิงปริมาณ
            6.4.2 หลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ
            6.4.3 เกณฑ์โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
            6.4.4 ข้อกำหนดอื่น ๆ
      6.5 หลักเกณฑ์ในการรับหลักทรัพย์ประเภทอื่นที่มิใช่หุ้นสามัญ
7.   การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
      7.1 หน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน และความเป็นอิสระของที่ปรึกษาทางการเงิน
      7.2 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ มาตรา 245-259
      7.3 ประกาศที่เกี่ยวข้อง
            7.3.1 หลักการของประกาศ
            7.3.2 สาระสำคัญของประกาศ
                    7.3.2.1 การรายงานการได้มาและจำหน่ายไป
                    7.3.2.2 การทำคำเสนอซื้อ
                    7.3.2.3 การประกาศเจตนาทำคำเสนอซื้อ
                    7.3.2.4 รายละเอียดการเสนอซื้อ
                    7.3.2.5 ความเห็นของกิจการเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อ
                    7.3.2.6 ข้อบังคับหลังการทำคำเสนอซื้อ
                    7.3.2.7 การยกเว้นการทำคำเสนอซื้อ
                    7.3.2.8 การขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อ
            7.3.3 แบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
8.   การเปิดเผยสารสนเทศ
      8.1 นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศ
      8.2 การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
      8.3 รายการที่เกี่ยวโยงกัน
      8.4 การเพิกถอนหลักทรัพย์
      8.5 กรณีศึกษา และ Workshop
9.  การกำกับดูแลกิจการที่ดี
      9.1 ความหมายและองค์ประกอบของการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
      9.2 หลักการและแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน
      9.3 ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (ESG) และการเปิดเผยข้อมูล
10. ความรู้เพิ่มเติม
      10.1 เอกสารเรื่อง หลักเกณฑ์ในการรับตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
      10.2 ความรู้เพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การให้คะแนน

หลักเกณฑ์การให้คะแนนและวัดผลการทดสอบความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
ในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน และหลักเกณฑ์การสอบซ่อม

ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้พิจารณากำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษา
ทางการเงิน หลักเกณฑ์ในการวัดผลการทดสอบและหลักเกณฑ์ในการสอบซ่อม โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการ
อบรมที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยการอบรมในหัวข้อต่างๆ ที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทาง
การเงิน โดยเกณฑ์การวัดผลจะพิจารณาจากคะแนนที่ผู้เข้าทดสอบทำได้ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ

ผู้ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน (ไม่จำกัดสายงาน) ไม่น้อยกว่า 2 ปี และ
2. ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินให้ครบถ้วนทุกวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เว้นแต่เป็นบุคลากรของบริษัทสมาชิก
ชมรมวาณิชธนกิจซึ่งสามารถเลือกที่จะเข้าอบรมทั้งหลักสูตร หรือเข้ารับการอบรมบางวิชา หรือไม่เข้ารับการอบรมก็ได้

หลักเกณฑ์การให้คะแนนและวัดผลการทดสอบ

1. คะแนนการทดสอบความรู้ รวม 260 คะแนนลักษณะข้อสอบเป็นการตอบคำถามแบบอัตนัย (บรรยาย) ทุกวิชา ซึ่งผู้เข้าทดสอบสามารถเปิด
หนังสือประกอบได้ (Open-book exam) กำหนดเวลาในการทำข้อสอบเป็นเวลา 12 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งข้อสอบแบ่งเป็น 2 หมวด ดังนี้

1. หมวดวิชาความรู้หลัก คะแนนเต็ม 160 คะแนน ได้แก่

– วิชา FA 103/1 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารทุน
– วิชา FA 103/2 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้
– วิชา FA 105 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
– วิชา FA 106 การเปิดเผยสารสนเทศ

2. หมวดวิชาความรู้ทั่วไป คะแนนเต็ม 100 คะแนน ได้แก่

– วิชา FA 100/1 จรรยาบรรณและความรู้ด้านต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน
– วิชา FA 100/2 แนวทางการทำ Due Diligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
– วิชา FA 101 ความรู้ทางด้านการบัญชี สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน
– วิชา FA 102 ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
– วิชา FA 104 การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
– วิชา FA 107 การกำกับดูแลกิจการที่ดี

2. เวลาในการทดสอบและคะแนนเต็มในแต่ละวิชา กำหนดไว้ดังนี้

วิชาช.ม. อบรมเวลาในการทดสอบความรู้ (นาที)คะแนน
FA 100/1จรรยาบรรณและความรู้ต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน1.303015
A 100/2แนวทางการทำ Due Dilligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน34525
FA101ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน96020
FA102ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทออกหลักทรัพย์3.303015
FA103/1การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารทุน5.3016560
FA103/2การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้26025
FA104การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์14515
FA105การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ315030
FA106การเปิดเผยสารสนเทศ4.3012045
FA107การกำกับดูแลกิจการที่ดี23010
รวม35735260

การทดสอบจะแบ่งเป็นการทดสอบในภาคบ่ายเป็นเวลา 3 วัน (วันแรกและวันที่สองวันละ 4 ชั่วโมง 15 นาที และวันที่สาม 3 ชั่วโมง 45 นาที) โดยในวันแรกจะทำการทดสอบวิชา FA 100/1 จรรยาบรรณและความรู้ต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน FA 101 ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน และ FA 103/1 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารทุน ในวันที่สองจะทำการทดสอบวิชา FA 100/2 แนวทางการทำ Due Diligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน FA 102 ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ FA 103/2 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้ และ FA 106 การเปิดเผยสารสนเทศ และในวันที่สามจะทำการทดสอบวิชา FA 104 การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์FA 107 การกำกับดูแลกิจการที่ดี และ FA 105 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ

ทั้งนี้ ผู้สอนแต่ละวิชาจะเป็นผู้ให้คะแนนและแจ้งแก่ชมรมวาณิชธนกิจ เพื่อประมวลผลการทดสอบ ซึ่งหลักเกณฑ์การผ่านการทดสอบ มีดังนี้
1. ได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ 60 หรือ 156 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 260 คะแนนของการสอบทุกวิชา และ
2. ได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ 50 หรือ 80 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 160 คะแนนของหมวดวิชาความรู้หลัก ซึ่งประกอบด้วย 4 วิชาคือ วิชา FA 103/1 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์- ตราสารทุน FA 103/2 การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้ FA 105 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และ FA 106 การเปิดเผยสารสนเทศ

หลักเกณฑ์การสอบซ่อม

1. จำนวนครั้งของการสอบซ่อม
ผู้สอบไม่ผ่านในครั้งแรกสามารถสอบซ่อมได้ไม่เกิน 3 ครั้งติดต่อกัน โดยจะต้องสอบซ่อมในการจัดทดสอบครั้งถัดไปนับแต่ที่ทราบผลการ
ทดสอบ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบครั้งที่ 1/2567 จะต้องสอบซ่อมในการทดสอบครั้งที่ 2/2567 และหากสอบซ่อมไม่ผ่าน ผู้สอบ
ซ่อมมีโอกาสสอบได้อีกสองครั้งคือ ในการทดสอบครั้งที่ 1/2568 และ ครั้งที่ 2/2568 ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องสอบซ่อมหลายวิชาสามารถขอทยอยสอบ
ซ่อมได้แต่จะต้องสอบซ่อมให้ผ่านทุกวิชาภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว

2. วิธีการสอบซ่อม
ผู้ที่สอบไม่ผ่านตามเกณฑ์การทดสอบ ชมรมวาณิชธนกิจจะแจ้งให้ทราบว่าวิชาใดบ้างที่ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มในวิชานั้น ๆ
(เช่น วิชา FA 100/1 คะแนนเต็ม 15 คะแนน หากทำได้ต่ำกว่า 9 คะแนนจะถือว่าสอบไม่ผ่าน) โดยผู้ที่สอบไม่ผ่านสามารถเลือกวิธีการสอบ
ซ่อมได้ ดังนี้
2.1 หมวดวิชาความรู้หลัก ผู้สอบซ่อมสามารถเลือกสอบซ่อมเป็นรายวิชาที่ไม่ผ่าน หรือจะสอบซ่อมทั้งหมวด (4 วิชา) ก็ได้ โดยเกณฑ์
ในการผ่านการสอบซ่อม เป็นดังนี้ – สอบซ่อมรายวิชาเกณฑ์ในการสอบผ่าน คือ ได้ร้อยละ 60 ของคะแนนแต่ละวิชา หรือ – สอบซ่อมทั้ง
4 วิชา เกณฑ์ในการสอบผ่าน คือ ได้ร้อยละ 50 ของคะแนนหมวดวิชาความรู้หลัก
2.2 หมวดวิชาความรู้ทั่วไป ผู้สอบซ่อมต้องสอบซ่อมเฉพาะวิชานั้น ๆ โดยเกณฑ์ในการผ่านการสอบซ่อม คือ ได้ร้อยละ 60 ของคะแนนแต่ละวิชา

วิธีสมัครและชำระค่าธรรมเนียม

การสมัครผ่านระบบลงทะเบียน

สมัครผ่านเว็บไซต์ https://register-ibclub.asco.or.th/ASCOWeb/login.jsp

การสมัครด้วยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดาภิเษก (สุขุมวิท-พระรามที่ 4) ชื่อบัญชี “สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย-ชมรมวาณิชธนกิจ” เลขที่บัญชี 718-2-18138-7 พร้อมทั้งส่งใบนำฝาก ใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัครมายัง E-mail : [email protected]
หลักฐานประกอบการสมัคร
1. การสมัครอบรม : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. การสมัครทดสอบ
2.1 หนังสือรับรองประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. การสมัครอบรมหลักสูตรทบทวนและเพิ่มพูนความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน
3.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3.2 สำเนาใบประกาศนียบัตรในการผ่านการทดสอบความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน (กรณีที่ยังไม่ได้รับหนังสือ
รับรองการอบรมหลักสูตรทบทวนและเพิ่มพูนฯ) หรือ
3.3 สำเนาหนังสือรับรองการอบรมหลักสูตรทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ฯ

อัตราค่าธรรมเนียมการอบรม/ทดสอบ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

การอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงิน

1. สมัครอบรมทั้งหลักสูตร 16,050 บาท
2. สมัครอบรมรายวิชา ดังนี้

วิชาราคา
FA 100/1จรรยาบรรณและความรู้ต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน
1,070 บาท
A 100/2แนวทางการทำ Due Dilligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน2,247 บาท
FA101ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน6,848 บาท
FA102ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทออกหลักทรัพย์2,247 บาท
FA103/1การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารทุน4,280 บาท
FA103/2การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้1,605 บาท
FA104การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์749 บาท
FA105การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ2,247 บาท
FA106การเปิดเผยสารสนเทศ3,424 บาท
FA107การกำกับดูแลกิจการที่ดี1,605 บาท

การทดสอบความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน

1. สมัครทดสอบทั้งหลักสูตร     6,313 บาท
2. สมัครทดสอบรายวิชา ดังนี้

วิชาราคา
FA 100/1จรรยาบรรณและความรู้ต่าง ๆ ของที่ปรึกษาทางการเงิน1,337.50 บาท
A 100/2แนวทางการทำ Due Dilligence สำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน1,337.50 บาท
FA101ความรู้ทางด้านการบัญชีสำหรับที่ปรึกษาทางการเงิน1,337.50 บาท
FA102ความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนและบริษัทออกหลักทรัพย์
1,337.50 บาท
FA103/1การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารทุน1,819 บาท
FA103/2การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ – ตราสารหนี้1,819 บาท
FA104การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
1,337.50 บาท
FA105การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ1,819 บาท
FA106การเปิดเผยสารสนเทศ1,819 บาท
FA107การกำกับดูแลกิจการที่ดี1,337.50 บาท

ใบสมัครอบรม / ใบสมัครทดสอบ / วิธีการสมัครและชำระค่าธรรมเนียม / เเผนที่สถานที่ทดสอบ